พระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554
เป็นปีที่ 66 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรั บปรุงกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคลซึ่ง มาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดย อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่าพระราชบั ญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
กองทุน” หมายความว่า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
เกษตรกร” หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และให้หมายความรวมถึงองค์กรเกษตรกรซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับเกษตรกรรม
องค์กรเกษตรกร” หมายความว่า สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม ชุมนุม สหกรณ์ดังกล่าว กลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนองค์กรเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือองค์กรเกษตรกรอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
เกษตรกรรม” หมายความว่า การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การประมง และเกษตรกรรมอื่น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ กำหนด
ผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น” หมายความว่า ผลิตผลอันเกิดจาก เกษตรกรรมโดยตรง ตลอดจนผลิตผลพลอยได้อันเกิดจากผลิตผลเกษตรกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกำหนดแต่ไม่รวมถึงผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือไว้แล้ว
ผลิตภัณฑ์อาหาร” หมายความว่า ผลิตผลเกษตรกรรมที่ใช้เป็นอาหาร หรือส่วนประกอบของอาหารสำหรับคนหรือสัตว์ไม่ว่าจะแปรรูปแล้วหรือไม่ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดแต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือไว้แล้ว
ค่าธรรมเนียมการส่งออก” หมายความว่า เงินที่เรียกเก็บจากผู้ส่งออก ตามพระราชบัญญัตินี้
ค่าธรรมเนียมการนำเข้า” หมายความว่า เงิ นที่เรียกเก็บจากผู้นำเข้าตาม พระราชบัญญัตินี้
ผู้ส่งออก” หมายความว่า ผู้ส่งของออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรซึ่งส่งออกผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการค้า
ผู้นำเข้า” หมายความว่า ผู้นำของเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรซึ่งนำเข้าผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น หรือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการค้า
หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม จังหวัด และให้หมายความรวมถึงรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้ง
คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร
รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร” ในสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย เงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๖ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน และใช้จ่ายช่วยเหลือหรือส่งเสริมเกษตรกรในกิจการตามมาตรา ๗ ให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ เงินกองทุนที่สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เก็บรักษาตามวรรคสองให้นำไปหาดอกผลโดยการฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำกับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือการซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาลได้การหาดอกผลจากเงินกองทุนนอกจากที่กำหนดในวรรคสาม ต้องขออนุมัติจากกระทรวงการคลัง
มาตรา ๖ กองทุน ประกอบด้วย
(๑) เงิน ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สินที่โอนมาจากกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรตามมาตรา ๒๖
(๒) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
(๓) ค่าธรรมเนียมการส่งออกและค่าธรรมเนียมการนำเข้าที่เรียกเก็บได้ ตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) เงินกู้โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
(๕) ดอกผลของเงินกองทุน
(๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้
มาตรา ๗ กิจการตามโครงการที่จะใช้จ่ายเงินจากกองทุน ได้แก่กิจการ ดังต่อไปนี้
(๑) การส่งเสริมการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดย
(ก) จัดหาปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่มีคุณภาพเพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม
(ข)ให้เกษตรกรกู้เพื่อการลงทุนในการผลิตเก็บรักษา หรือจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
(ค)ดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำหรือที่ดินให้เกษตรกรเข้าทำกินการจัดหากรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินให้แก่เกษตรกร การปฏิรูปที่ดินและการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(ง) ดำเนินการอื่นใดอันจะก่อประโยชน์ในการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร
(๒) การส่งเสริมการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น หรือผลิตภัณฑ์อาหาร
(๓) การรักษาเสถียรภาพของราคาและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดย
(ก) ซื้อหรือรับจำนำผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารในราคาที่คณะกรรมการกำหนด
(ข) จำหน่ายภายในหรือนอกราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
(ค) ดำเนินการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งกิจการตาม (๓)
(๔) การดำเนินการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร
(๕) การศึกษาวิจัย เพื่อการพัฒนาการผลิต การแปรรูป หรือการตลาด ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น หรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
(๖) การติดตามผลการดำเนินการตามโครงการที่ได้รับการช่วยเหลือหรือส่งเสริมจากกองทุน
มาตรา ๘ ให้จัดสรรเงินกองทุนจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของเงินกองทุนเป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อใช้จ่ายในกิจการตามมาตรา ๗ การจัดสรรเงินกองทุนให้คำนึงถึงเกษตรกรที่ประสบความเดือดร้อนเป็นหลักก่อน ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๙ รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดชนิดหรือประเภทของผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก หรือค่าธรรมเนียมการนำเข้าในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใด หรือประเภทใด อาจทำให้ราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือประเภทนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นจนกระทบกระเทือนต่อการบริโภคภายในประเทศ หรืออาจก่อให้เกิดความขาดแคลน ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือประเภทนั้นภายในประเทศ
(๒) ราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใดหรือประเภทใดในต่างประเทศสูงกว่าราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือประเภทนั้นในประเทศทำให้กำไรจากการส่งออกสูงเกินสมควร
(๓) การนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใดหรือประเภทใด อาจทำให้ราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือประเภทนั้นมีแนวโน้มต่ำลงจนกระทบกระเทือนต่อการผลิตภายในประเทศการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกประกาศตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๑๐ รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้าซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดหรือประเภทที่กำหนดตามมาตรา ๙ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเรียกเก็บและชำระค่าธรรมเนียมการส่งออก และค่าธรรมเนียมการนำเข้าการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงอัตราอากร และค่าธรรมเนียมพิเศษที่เรียกเก็บจากผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า และกฎหมายอื่นด้วยการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกประกาศตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่การส่งออกไปนอกราชอาณาจักรหรือการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้า เกิดขึ้นจากการซื้อขายระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีมีอำนาจลดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้าสำหรับผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดหรือประเภทดังกล่าวสำหรับปริมาณที่ซื้อขายกันแต่ละคราวได้
มาตรา ๑๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๑ ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดหรือประเภทที่กำหนดตามมาตรา๙ ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก หรือค่าธรรมเนียมการนำเข้าตามอัตราหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในมาตรา ๑๐
มาตรา ๑๓ ค่าธรรมเนียมการส่งออกและค่าธรรมเนียมการนำเข้าที่เรียกเก็บได้ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ส่งเข้ากองทุนเพื่อใช้ในกิจการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งจากเกษตรกรจำนวนสิบคนเป็กรรมการ
หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีการออกระเบียบตามวรรคสองให้คำนึงถึงผู้แทนองค์กรเกษตรกรและเกษตรกรโดยกระจายตามภูมิภาค สาขาอาชีพ และการมีส่วนร่วมของชายและหญิง ทั้งนี้ ให้มีผู้แทนเกษตรกรด้านพืช ด้านสัตว์และด้านการประมง อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน
คณะกรรมการจะแต่งตั้งกรรมการหรือบุคคลอื่นเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๑๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปีเมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ให้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่ง
ติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้พ้นจากตำแหน่งเพราะบกพร่องต่อหน้าที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย หย่อนความสามารถวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดฐานหมิ่นประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๗) ขาดคุณสมบัติตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดตามมาตรา ๑๔ วรรคสอง
มาตรา ๑๗ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่เหลืออยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่