รายงานดัชนีราคาอาหารโลกของ FAO ประจำเดือนเมษายน 2567
8 พ.ค. 2567
5
0
รายงานดัชนีราคาอาหารโลกของ FAO ประจำเดือนเมษายน 2567
รายงานดัชนีราคาอาหารโลกของ FAO ประจำเดือนเมษายน 2567

FAO รายงานดัชนีราคาอาหารโลกประจำเดือนเมษายน 2567 (Food Price Index FFPI) อยู่ที่ 119.1 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยได้รับแรงหนุนจากราคาเนื้อสัตว์โลกที่สูงขึ้น

ดัชนีราคาน้ำมันพืช เฉลี่ยอยู่ที่ 130.9 จุด เพิ่มขึ้น 0.3 จุด จากเดือนมีนาคม แตะระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดอกทานตะวันและ
เรพซีดที่สูงขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลืองลดลง ราคาน้ำมันปาล์มที่ลดลง มาจากผลผลิตที่สูงขึ้นตามฤดูกาลในประเทศผู้ผลิตหลักและ
ความต้องการนำเข้าทั่วโลกที่ลดลง ในขณะที่ราคาน้ำมันถั่วเหลืองในตลาดโลกลดลงจากปริมาณการผลิตในอเมริกาใต้ที่มีแนวโน้มที่ดี ส่วนราคาน้ำมัน
ดอกทานตะวันและน้ำมันเรพซีดที่เพิ่มขึ้น มาจากอุปสงค์ที่มีอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์นม เฉลี่ยอยู่ที่ 123.7 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนมีนาคม ซึ่งถือเป็นการชะลอตัวหลังจากเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน โดยราคานมผงพร่องมันเนยลดลงมากที่สุด มาจากความต้องการนำเข้าที่ลดลง ราคาชีส
ลดลงเล็กน้อย จากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ ราคาเนยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก
ความต้องการนำเข้าที่มีมาอย่างต่อเนื่องและสินค้าคงคลังในยุโรปตะวันตกที่มีค่อนข้างจำกัด

ดัชนีราคาเนื้อสัตว์ เฉลี่ยอยู่ที่ 116.3 จุด เพิ่มขึ้น 1.9 จุด จากเดือนมีนาคม เป็นการเพิ่มขึ้นสามเดือนติดต่อกัน โดยเฉพาะ ราคาเนื้อสัตว์ปีกและเนื้อวัว ซึ่งมาจากอุปสงค์ของประเทศผู้นำเข้าที่มีอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีราคาน้ำตาล เฉลี่ยอยู่ที่ 127.5 จุด ลดลง 5.9 จุด จากเดือนมีนาคม นับเป็นการลดลงเป็นเดือนที่สอง จากปริมาณการผลิตที่มีมากในอินเดียและไทย

ดัชนีราคาธัญพืช เฉลี่ยอยู่ที่ 111.2 จุดในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 0.3 จุด จากเดือนมีนาคม หลังจากลดลงติดต่อกันสามเดือน แรงกดดันด้านราคาที่สูงขึ้นมาจากความกังวลเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตในปี 2024 ในสหภาพยุโรป รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ราคาส่งออกข้าวโพดเพิ่มขึ้น มาจากความต้องการนำเข้าที่สูง การหยุดชะงักด้านการขนส่งที่เกิดจากความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐานในยูเครน และการผลิตที่ลดลงในบราซิลก่อนเริ่มฤดูการเก็บเกี่ยว สำหรับธัญพืชอื่นๆ ได้แก่ ราคาข้าวบาร์เลย์ในตลาดโลกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในขณะที่ราคาข้าวฟ่างลดลงในเดือนเมษายน ส่วนราคาข้าวทั้งหมด ลดลงร้อยละ 1.8 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาของสายพันธุ์ Indica ซึ่งได้แรงหนุนจากแรงกดดันในการเก็บเกี่ยว

ตกลง