เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
17 ต.ค. 2567
27
40
ที่มา : กรมการข้าว
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
แมลงปากดูดตัวเต็มวัยลำตัวสีน้ำตาล มีชนิดปีกสั้น และปีกยาว ไข่สีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ตัวเต็มวัยเพศเมีย วางไข่เป็นกลุ่มที่ก้านใบข้าว หรือเส้นกลางใบบริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล

ลักษณะการทำลาย และการระบาด
ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นข้าว ระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้ง คล้ายถูกน้ำร้อนลวกและแห้งตาย เป็นหย่อมๆ เรียก * อาการไหม้ (HOPPERBURN) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะแตกกอถึงระยะออกรวง
และเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส โรคใบหงิก หรือโรคจู๋ มาสู่ต้นข้าว

การป้องกันกำจัด
1. เลือกใช้พันธุ์ข้าวที่ค่อนข้างต้านทาน
2. หมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ
3. ไม่ขังน้ำในนาตลอดฤดูปลูก ควบคุมน้ำในนา ให้พอดีดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดิน นาน 7 - 10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ ให้แห้งสลับกันไป จะช่วยการลดการระบาด
4. ใช้ เชื้อราบิวเวอเรีย ฉีดพ่นในตอนเย็น หรือ อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
5. ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้สารเคมี
ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลงให้ถูกต้องตามคำแนะนำ

ที่มา : กรมการข้าว

ตกลง