ระวังโรคตายพราย หรือ โรคปานามาที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR 4 ในกล้วยหอม2
5 ส.ค. 2567
63
0
ระวังโรคตายพรายหรือโรคปานามาที่เกิดจากเชื้อรา
ระวังโรคตายพราย หรือ โรคปานามาที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR 4 ในกล้วยหอม2

ระวังโรคตายพราย หรือ โรคปานามาที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR 4 ในกล้วยหอม
เตือนเกษตรกรปลูกกล้วยหอม เฝ้าระวังโรคตายพราย หรือ โรคปานามาที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR 4 ในกล้วยหอม เนื่องจากปัจจุบันมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยโดยเฉพาะกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชซึ่งเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวควร หมั่น สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ ลักษณะอาการ โรคนี้เกิดจากระบบท่อลำเลียงของพืชถูกทำลาย โดยเชื้อเข้าสู่รากและแพร่กระจายสู่ระบบท่อน้ำพืช เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีน้ำตาลในท่อลำเลียงของล้าต้นเทียมกล้วย และลุกลามขึ้นสู่ก้านใบ อาการภายนอกทำให้โคนใบแก่ด้านนอกมีสีซีด เหลือง และผืนใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลโดยเริ่มจากขอบใบเข้าสู่กลางใบ และใบหักพับภายใน 1 - 2 สัปดาห์ ท้าให้เห็นอาการใบเหลืองจากใบล่างขึ้นไป ต่อมาใบและกิ่งเริ่มเหี่ยว และร่วง เซลล์ตามขอบใบตายและทำให้ต้นตายในที่สุด บางครั้งอาจพบอาการผลอาจเน่าและร่วงรากอาจจะเจริญออกทางด้านข้าง และเน่าภายหลัง และ ที่สำคัญเชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR4 มีความสามารถอยู่รอดในดินได้นานมากกว่า 15 ปี รวมทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปกับส่วนขยายพันธุ์ที่เป็นโรค ดิน น้ำที่ปนเปื้อนเชื้อราสาเหตุของโรคด้วย
แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้
1. หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
2. หากต้องการปลูกกล้วยในพื้นที่ใหม่ ควรเลือกแปลงปลูกที่ไม่เคยพบโรคนี้มาก่อน
3. ปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัด โดยใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์
4. รองก้นหลุมปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เชื้อสดผสมกับร้าข้าวละเอียด และปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกเก่า) ในอัตราส่วน 1: 4: 100โดยน้ำหนักอัตรา 100 -200กรัมต่อหลุม
5. ควรเลือกหน่อกล้วยจากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้ หรือไม่น้าหน่อพันธุ์จากต้นตอที่เป็นโรคไปปลูก
6.ชุบหน่อพันธุ์กล้วยด้วยสารเคมี อีไตรไดอะโซล+ควินโตซีน 6% + 24% อีซีหรือ คาร์เบนดาซิม50% เอสซี หรือ ทีบูโคนาโซล 43% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
7. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี ควรระมัดระวังการให้น้ำไม่ให้น้ำไหลผ่านจากต้นที่เป็นโรคไป ต้นปกติ
8. หากพบต้นที่เป็นโรคควรรีบดำเนินการ ดังนี้
8.1 ขุดต้นที่เป็นโรคออกไปเผาท้าลายนอกแปลงปลูก แล้วโรยด้วยปูนขาวให้ทั่วบริเวณกอที่
เป็นโรค และหลุมที่ขุดต้นเป็นโรคออกไปอัตรา 1 - 2 กิโลกรัมต่อหลุม
8.2 หว่านใต้ทรงพุ่มหรือโรยโคนต้นพืชด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เชื้อสดผสมกับร้าข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกเก่า) ในอัตราส่วน 1 : 4 : 100 โดยน้ำหนักอัตรา 3 - 5 กิโลกรมต่อต้นหรือต่อกอ 8.3 ในแปลงที่มีการระบาดของโรค ควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน
9. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคทุกครั้งก่อนน้าไปใช้ใหม่

ตกลง