บทบาทของธาตุอาหารกับการติดผลและพัฒนาผล
การออกดอกของไม้ผลถือว่าเป็นระยะพัฒนาของต้นพืชขั้นที่ 2 หลังจากสร้างชุดใบ เพื่อสะสมอาหาร ซึ่งมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง => ตัวพืชเอง และสภาพแวดล้อม
เมื่อออกดอกแล้ว ทำอย่างไรถึงจะทำให้เกิดการติดผล?
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมากคือ => ธาตุอาหาร
ธาตุอาหารจำเป็นและมีบทบาทหลายๆ กระบวนการ (ภาพประกอบด้านล่างนะคะ)
=> การถ่ายละอองเกสร ทุกคนคงต้องคิดถึง Ca-B นะคะ โดยเฉพาะ B นี่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานงอกของหลอดละอองเรณู และการผสมเกสร
อีกธาตุที่สำคัญคือ ฟอสฟอรัส (P) ค่ะ เพราะเป็นองค์ประกอบของสารพลังงาน
=> การติดผลและการพัฒนาของผลอ่อน
หลังจากผสมเกสร ดอกก็จะสร้างฮอร์โมนออกซิน เพื่อทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ และขยายขนาดของเซลล์ในส่วนของรังไข่ เพื่อพัฒนาไปเป็นผล
และยังมีการสร้างฮอร์โมนเอทิลีนเพิ่มขึ้น เราจึงเห็นกลับดอก และเกสรตัวผู้เกิดการหลุดร่วงภายใน 24 ชั่วโมง
** เป็นระยะที่ต้องการธาตุอาหารมาก
** เป็นระยะที่รากอ่อนแอ การดูดน้ำและธาตุอาหารลดลง
การพัฒนาของผลอ่อนจะเกิดขึ้นช้าๆ ในช่วงแรก และเกิดขึ้นเร็วแบบแบ่งเซลล์และขยายขนาดของเซลล์แบบทวีคูณ ธาตุที่สำคัญคือ N P K Ca S B เพื่อเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน สารอินทรีย์ สารพลังงาน และบทบาทในการลำเลียงสารอาหาร
=> การพัฒนาคุณภาพของผล ด้านสี รสชาติ กลิ่น เนื้อสัมผัส มีบทบาทของธาตุ Ca และ K เข้ามาเกี่ยวข้อง
เมื่อเราเข้าใจพื้นฐานบทบาทของธาตุอาหารกับการติดผล เราก็จะเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ผลลัพธ์ของการทำเกษตรได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า และยั่งยืน