ผลงานวิจัยพืชเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนเกษตร
เทคโนโลยีการผลิตพืชเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนเกษตร รายชื่อคณะผู้วิจัย: ผอ.แผนงานวิจัย ธัชธาวินท์ สะรุโณ หัวหน้าแผนงานวิจัยย่อย/โครงการ บุญณิศา ฆังคมณี สุธีรา ถาวรรัตน์ ศยามล แก้วบรรจง เพ็ญจันทร์ วิจิตร มนต์สรวง เรืองขนาบ บงการ พันธุ์เพ็ง เครือวัลย์ บุญเงิน ศรีนวล สุราษฎร์ พีชณิตดา ธารานุกูล สุวิมล วงศ์พลัง กัลยา เกาะกากลาง พนิต หมวกเพชร พรทิพย์ แพงจันทร์ พิกุลทอง สุอนงค์ วรากรณ์ เรือนแก้ว และชุมชนในภูมิภาคต่าง ๆ. โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8 การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ องค์ความรู้ด้านการผลิตพืชที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม 34 เรื่อง ใน 8 ภูมิภาค ได้ถ่ายทอดสู่สาธารณะ และในชุมชนต้นแบบ 45 ชุมชน เกิดชุมชนการขยายผลงานวิจัย 10 โมเดลชุมชน คือ 1) “เมืองมายโมเดล เทคโนโลยีการผลิตในระบบการปลูกพืช ถั่วลิสง-ข้าว จังหวัดลำปาง” 2) “บ่อโพธิ์โมเดล ชุมชนปุ๋ยข้าวโพดแก้จน คนบ่อโพธิ์ จังหวัดพิษณุโลก” 3) “หนองบัวลำภูโมเดล ระบบการปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยวข้าว” 4) “หิน เหล็ก ไฟ โมเดล ชุมชนผลิตอ้อยยั่งยืน จังหวัดบุรีรัมย์” 5) “นาคูโมเดล พืชผักปลอดภัยและยั่งยืนระดับชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” 6) “ท่ากุ่มเนินทรายโมเดล เทคโนโลยีผสมผสานในการผลิตทุเรียน จังหวัดตราด” 7) “สุราษฎร์ธานีโมเดล ปาล์มน้ำมันยั่งยืน “ 8) "โพรงเข้โมเดล ปาล์มน้ำมันยั่งยืน จังหวัดตรัง” 9) “Wetland Model การเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชในพื้นที่ชุ่มน้ำ จังหวัดพัทลุง” 10) "รำแดงโมเดล สทิงพระโมเดล ป่าขาดโมเดล บ้านแคโมเดล เกษตรตามศาสตร์พระราชา จังหวัดสงขลา” จากการประเมินผลกระทบการวิจัย 11 โครงการ จาก 34 โครงการ พบว่า ได้มีการเผยแพร่เป็นบทความวิชาการ รวม 49 ครั้ง นำเสนอในการประชุม/สัมมนาแบบปากเปล่า รวม 33 ครั้ง นำเสนอแบบโปสเตอร์ รวม 28 ครั้ง แปลงต้นแบบเทคโนโลยีระดับภาคสนาม รวม 300 แปลง การพัฒนากำลังคนนักวิจัยกรมวิชาการเกษตรที่ได้รับความรู้ทักษะและมีประสบการณ์ในการวิจัยเพิ่มขึ้น รวม 230 คน นักวิจัยท้องถิ่น/ผู้นำเกษตรกรที่ได้รับความรู้ทักษะประสบการณ์ในการพัฒนาการผลิตพืชเพิ่มขึ้น รวม 373 คน การใช้ประโยชน์ด้านชุมชนและพื้นที่ มีเกษตรกรที่มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น รวม 1,717 คน จำนวนคนที่ได้รับถ่ายทอดความรู้จากการจัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยี รวม 7,325 คน จำนวนคนที่ได้รับการฝึกอบรม/หรือได้รับความรู้จากการจัดประชุมสัมมนา รวม 2,765 คน เกิดมูลค่าผลตอบแทนเกษตรกรที่ร่วมการวิจัยได้รับ รวม 126 ล้านบาท มูลค่าผลตอบแทนจากเกษตรกรผู้นำเทคโนโลยีไปใช้รวม 109 ล้านบาท และมูลค่าผลตอบแทนเกษตรกรผู้ได้รับการส่งเสริมนำเทคโนโลยีไปใช้กลุ่มสุดท้าย รวม 194 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 429 ล้านบาท เกิดการแพร่กระจายเทคโนโลยีระดับมาก เทคโนโลยีที่จะส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตพืชระดับมาก ส่งผลกระทบในภาพรวมด้านการสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างเสียรภาพทางรายได้เกษตรกร ตามแนวทางเศรษฐกิจ BCG และได้เป็นต้นแบบการบริหารจัดการภาครัฐแบบมีส่วนร่วม (รางวัลเลิศรัฐ) ตามแนวทาง DOA TOGETHER