เตือนเกษตรกรเฝ้าระวัง หนอนห่อใบข้าว
*** รูปร่างลักษณะ
- ไข่มีลักษณะเป็นรูปจาน สีขาวขุ่น
- หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ ๆ มีสีขาวใสหัวมีสีน้ำตาลอ่อน
- หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม มี 5 - 6 ระยะ
- ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีน้ำตาลเหลือง มีแถบสีดำพาดที่
ปลายปึก กลางปึกมีแถบสีน้ำตาล พาดขวาง 2 - 3 แถบ
- เพศเมียวางไข่บนใบข้าวขนานตามแนวเส้นกลางใบ
*** ลักษณะการทำลาย
- ตัวหนอนจะแทะผิวใบข้าวเป็นแถบยาวสีขาวและใช้ใยเหบียวที่สกัดจากปากดึงขอบใบข้าวทั้ง 2 ด้าน เข้าหากัน เพื่อห่อหุ้มตัวหนอนไว้แล้วกัดกินอยู่ภายในใบ
- บริเวณใบที่ถูกกัดกินจะมีสีขาวใส เป็นทางยาวขนานกับเส้นกลางใบ
- ใบที่ถูกทำลาย ทำให้ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงลดลง
- ระบาดมากในนาที่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูง
*** การป้องกันกำจัด
1. พื้นที่ที่มีการระบาดเป็นปีระจำ ควรปลูกข้าว 2 พันธุ์ขึ้นไป โดยปลูกสลับพันธุ์กัน จะช่วยลดความรุนแรงของการระบาด
2. กำจัดพืชอาศัย เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าปล้อง
3. ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูง ควรใช้ตามคำแนะนำทางวิชาการ
4. หมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
5. พ่นสารเมื่อตรวจพบใบที่ถูกทำลายมากกว่า 15% ในระยะข้าวแตกกอ
ถึงตั้งท้อง เลือกใช้สารป้องกันกำจัดแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น
ㆍฟิโพรนิล 5% SC
ㆍ ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG
ㆍ อินดอกซาคาร์บ 15% EC
อัตราการใช้ตามคำแนะนำในฉลาก ต้องสลับกลุ่มสารทุก 30 วัน
เพื่อลดความต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดแมลง