เตือนชาวสวนส้มโอระวังโรคขี้กลาก
15 พ.ค. 2566
830
0
เตือนชาวสวนส้มโอระวังโรคขี้กลาก
เตือนชาวสวนส้มโอระวังโรคขี้กลาก
เตือนชาวสวนส้มโอระวังโรคขี้กลาก

เตือนชาวสวนส้มโอระวังโรคขี้กลาก
เตือนชาวสวนส้มโอ เตรียมรับมือ โรคแคงเกอร์ หรือ โรคขี้กลาก ที่เกิดจากแบคทีเรีย เพราะ มีการระบาดมากในช่วงฝนตกชุก...ยิ่งการปลูกส้มโอเพื่อส่งออก ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะหลายประเทศมีกฎป้องกันโรคแคงเกอร์อย่างเคร่งครัดเป็นโรคที่มักพบในระยะต้นส้มโอติดผล อาการบนใบ เริ่มแรกมีแผลจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาแผลขยายใหญ่เป็นแผลจุดนูนฟูขึ้นคล้ายฟองน้ำสีเหลืองอ่อน จากนั้นเนื้อเยื่อแผลจะแข็งมีสีน้ำตาลเข้ม ตรงกลางแผลยุบตัว ขอบแผลยกตัวขึ้น บริเวณรอบแผลมีวงสีเหลืองล้อมรอบ...อาการบนกิ่งคล้ายที่ใบ แต่ไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล ต่อมาแผลจะแตกแข็งเป็นสีน้ำตาลขยายรอบกิ่งหรือตามความยาวกิ่ง รูปร่างแผลไม่แน่นอน
ส่วนอาการบนผลจะคล้ายอาการบนใบ แต่จะเกิดแผลเดี่ยวกลมฝังลึกลงไปในผิว แผลจะขยายเป็นสะเก็ดใหญ่ มีวงสีเหลืองล้อมรอบ บางครั้งพบผลส้มโอปริแตกตามรอยแผล กรณีเกิดโรคในระยะผลอ่อนอาจ ส่งผลทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ หากระบาดรุนแรงจะทำให้ผลร่วงได้
หากพบต้นส้มโอที่แสดงอาการของโรค ให้เกษตรกรตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค เก็บเศษซากพืชที่ร่วงหล่น และกำจัดวัชพืชในแปลงนำไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูกทันที จากนั้นให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิลยูพี หรือ คิวปรัสออกไซด์ 86.2% ดับเบิลยูจี หรือ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% ดับเบิลยูพี ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน 2-3 ครั้ง และควรเลือกใช้กิ่งพันธุ์ จากแหล่งปลูกที่ไม่มีการระบาดของโรค ใช้กิ่งพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ และหลีกเลี่ยงการนำกิ่งพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคมาปลูก
และในระยะที่ต้นส้มโอแตกใบอ่อน ให้กำจัดหนอนชอนใบที่เป็นพาหะเชื้อก่อโรค หากพบให้พ่นด้วย ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% อีซี หรือ โคลไทอะนิดิน 16% เอสจี หรือ อิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิลยูจี หรือ ไทอะมีทอกแซม 25% ดับเบิลยูจี อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ให้ทั่วทั้งหลังใบและหน้าใบ

ตกลง