ปลูก “มะพร้าวน้ำหอม” ไม่หวาน-ไม่หอม ปลูก “ส้มโอ” ก็รสจืด จะแก้ไขยังไง?
27 ก.ค. 2566
90
0
ปลูก “มะพร้าวน้ำหอม” ไม่หวาน-ไม่หอม ปลูก “ส้มโอ” ก็รสจืด จะแก้ไขยังไง?
ปลูก“มะพร้าวน้ำหอม”ไม่หวาน-ไม่หอมปลูก
ปลูก “มะพร้าวน้ำหอม” ไม่หวาน-ไม่หอม ปลูก “ส้มโอ” ก็รสจืด จะแก้ไขยังไง?

ปลูก “มะพร้าวน้ำหอม” ไม่หวาน-ไม่หอม ปลูก “ส้มโอ” ก็รสจืด จะแก้ไขยังไง?

ที่มา
เทคโนโลยีการเกษตร
ผู้เขียน
หมอเกษตรทองกวาว
เผยแพร่
วันพฤหัสที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2566
มีผู้ถามเข้ามาว่า ตนเองนัั้นปลูกมะพร้าวน้ำหอมไว้ 100 กว่าต้น กำลังให้ผลผลิต แต่น้ำมะพร้าวไม่หอม และมีรสเปรี้ยว พอปลูกส้มโอก็ไม่หวานอีก แต่กลับมีรสจืดชืด ควรใส่ปุ๋ยอะไรดี?


อาจารย์ประเวศ แสงเพชร อดีตข้าราชการกรมวิชาการ ให้ความรู้ว่า มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ทดสอบได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า เมื่อเด็ดส่วนรากมาดมก็หอม แม้จะนำไปปลูกในแหล่งอื่นๆ ก็ยังคงความหอมอยู่ได้ แต่จะให้ผลดกหรือไม่ดกนั้นขึ้นอยู่กับ ระดับน้ำใต้ดินของแหล่งปลูก

มะพร้าวน้ำหอมหรือมะพร้าวแกงจะติดผลดีต้องมีระดับน้ำใต้ดินลึกไม่เกิน 1 เมตร ระดับน้ำใต้ดินยิ่งลึกความสามารถในการติดผลก็จะต่ำลงเป็นลำดับเช่นกัน ดังนั้น พันธุ์มะพร้าวที่คุณซื้อมาปลูกน่าจะเกิดจากเหตุเดียวคือได้ต้นพันธุ์ที่ ไม่ใช่พันธุ์มะพร้าวน้ำหอมแท้มาปลูก

ทรงต้นมะพร้าวพันธุ์ตูดจีบบ้านแพ้ว
อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยอาจช่วยเพิ่มความหวานของน้ำมะพร้าวได้คือ การใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 สูตรใดสูตรหนึ่งตามที่จะหาได้สะดวก ในระยะติดผลหรือก่อนติดผลเล็กน้อย อัตราครึ่งกิโลกรัม หรือ 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับอายุของต้นไม้ ด้วยการหว่านรอบต้นและรดน้ำตามจึงจะได้ผลดี

arrow_forward_iosคลิก
Pause 00:00
00:21
01:31
Unmute
 

Powered by GliaStudio
close
 
ปุ๋ยตัวท้ายสูงคือ 21 หมายถึง ปุ๋ย 100 กิโลกรัม จะมีโพแทสเซียม (K) 21 กิโลกรัม ธาตุอาหารชนิดนี้มีบทบาทสำคัญช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลจากใบไปยังผลของต้นไม้ ส่งผลให้ผลไม้มีรสหวานมากขึ้น กลิ่นหอมก็อาจเพิ่มขึ้นบ้างแต่คงไม่มาก เนื่องจากความหอมถูกควบคุมด้วยพันธุกรรม อิทธิพลภายนอกจะมีผลต่อความหอมในปริมาณที่ต่ำกว่าความหวาน

ส่วนในกรณีของส้มโอก็ให้ใช้สูตรปุ๋ย เวลา และอัตราเดียวกันกับที่ได้อธิบายไปข้างต้น

 

 
นอกจากการใช้ปุ๋ยเคมีแล้ว ควรใส่ปุ๋ยคอกเก่าด้วยในอัตรา 1-2 ปุ้งกี๋ ต่อต้น ในต้นฤดูและปลายฤดูฝนอัตราเดียวกัน เพราะนอกจากจะเพิ่มธาตุอาหารรองให้กับต้นไม้แล้วยังช่วยรักษาความชื้นและปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นอีกด้วย

อีกปัจจัยหนึ่งคือ “น้ำ” ที่นับว่ามีความสำคัญมากในการปลูกมะพร้าว เนื่องจากมะพร้าวมีการวิวัฒนาการและปรับตัวได้ดีในแหล่งที่มีน้ำบริบูรณ์มาเป็นเวลาช้านาน สามารถทนต่อน้ำเค็มได้ดี ผลมะพร้าวแห้งสามารถล่องลอยไปในทะเลจากเกาะหนึ่ง ไปอีกเกาะหนึ่งเมื่อเกยตื้นจะแทงรากและหน่อเจริญเติบโตได้ดีที่บริเวณชายหาด และสามารถสืบเผ่าพันธุ์ต่อไปได้อย่างปกติสุข

……….

เผยแพร่ในระบบออนไลน์เป็นครั้งแรก เมื่อวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ตกลง