รู้ไว้ก่อน "การรับมือหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ในทุเรียน"
15 พ.ย. 2566
77
0
รู้ไว้ก่อน "การรับมือหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ในทุเรียน"
รู้ไว้ก่อน การรับมือหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ในทุเรียน
รู้ไว้ก่อน "การรับมือหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ในทุเรียน"

รู้ไว้ก่อน "การรับมือหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ในทุเรียน"
ทุเรียน ในระยะ เก็บผลผลิต เริ่มแก่ เตรียมต้น (ระยะการเจริญทางใบ) รับมือหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางคืน สามารถวางไข่ได้ 100 - 200 ฟองต่อตัว วางไข่เป็นฟองเดี่ยวบนผลทุเรียนในขณะที่ผลยังอ่อน จากนั้นตัวหนอนที่เพิ่งฟักจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดภายในผล การเข้าทำลายจะสังเกตรอยเจาะของหนอนได้ยากเนื่องจากมีขนาดเล็กมากและเปลือกทุเรียนที่กำลังขยายจะปิดรูเจาะของหนอน ทุเรียนที่ถูกทำลายส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะที่เมล็ดแข็งแล้ว หนอนเจริญเติบโตอยู่ภายในผลทุเรียนกัดกินเมล็ดเป็นอาหารประมาณ 30 - 40 วัน โดยคาดคะเนจากเวลาที่จับแม่ผีเสื้อตัวแรกได้และเวลาที่พบหนอนที่โตเต็มที่พร้อมจะเข้าดักแด้ซึ่งห่างกันประมาณ 48 วัน จึงคาดว่าระยะตั้งแต่ผีเสื้อออกจากดักแด้ ผสมพันธุ์ วางไข่ และไข่ฟักเป็นตัวหนอน จะกินเวลาประมาณ 10 วัน ดังนั้นระยะหนอนประมาณ 38 วัน การทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนจะเจาะไชเข้าไปในเมล็ดกัดกินและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนอาศัยอยู่ในผลทุเรียนจนกระทั่งผลแก่ เมื่อหนอนโตเต็มที่หรือถ้าผลร่วงก่อน หนอนจะเจาะรูกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 - 8 มิลลิเมตร ออกมาและเข้าดักแด้ในดิน ระยะก่อนเข้าดักแด้ 8 - 10 วัน ระยะดักแด้ 1 - 9 เดือน ผีเสื้อตัวเต็มวัยที่ออกจากดักแด้ภายในหนึ่งเดือนอาจจะเข้าทำลายทุเรียนรุ่นหลังในปีเดียวกันได้ หรืออาจจะออกจากดักแด้ในปีถัดไปโดยมีฝนในช่วงต้นปีเป็นตัวกระตุ้นให้ตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ ผีเสื้อตัวเต็มวัยที่จับได้จากกับดักแสงไฟจะมีชีวิตเพียง 7-10 วันเท่านั้น
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. เกษตรกรไม่ควรขนย้ายเมล็ดทุเรียนจากที่อื่นเข้ามาในแหล่งปลูก ถ้ามีความจำเป็นควรทำการคัดเลือกเมล็ดอย่างระมัดระวัง หรือแช่เมล็ดทุเรียนด้วยสารฆ่าแมลง เช่น มาลาไทออน 83% W/V EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ก่อนทำการขนย้ายจะช่วยกำจัดหนอนได้
2. การห่อผลระยะยาวโดยใช้ถุงพลาสติกสีขาวขุ่นขนาด 40x75 เซนติเมตร เจาะก้นถุงเพื่อระบายน้ำ สามารถป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยมาวางไข่ได้ โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไปจนถึงเก็บเกี่ยว ก่อนห่อตรวจสอบผลทุเรียนที่จะห่อให้ปราศจากเพลี้ยแป้ง ถ้ามีให้กำจัดโดยใช้แปรงปัดออก แล้วพ่นด้วยสารฆ่าแมลง ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. การป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน โดยการพ่นสารฆ่าแมลง แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% CS อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เริ่มเมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์ และห่อด้วยถุงพลาสติกขาวขุ่น ขนาด 40x75 เซนติเมตร เจาะมุมก้นถุงเพื่อระบายน้ำ เมื่อผลอายุ 10 สัปดาห์ โดยเลือกห่อเฉพาะผลที่มีขนาดและรูปทรงได้มาตรฐาน ก่อนห่อผลควรมีการสำรวจเพลี้ยแป้ง ถ้าพบเพลี้ยแป้งระบาดควรพ่นสาร ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
4. การใช้กับดักแสงไฟโดยใช้หลอด black light เพื่อล่อตัวเต็มวัยหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนมาทำลาย สามารถช่วยลดการระบาดของแมลงชนิดนี้ลงได้มากเนื่องจากตัวเต็มวัยแต่ละตัวมีไข่ประมาณ 100-200 ฟอง และกับดักแสงไฟยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือตรวจการระบาดของแมลงชนิดนี้ได้ เพื่อให้ทราบว่ามีแมลงระบาดในช่วงไหน ควรใช้สารฆ่าแมลง (ถ้าจำเป็น) มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลดจำนวนการพ่นสารฆ่าแมลงอย่างที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ตั้งแต่ทุเรียนเริ่มออกดอก
5. การป้องกันกำจัดโดยใช้สารฆ่าแมลง เมื่อพบว่าตัวเต็มวัยเริ่มระบาดให้ใช้สาร คาร์บาริล 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เดลทาเมทริน 3% W/V EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% W/V CS อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เบตา-ไซฟลูทริน 2.5% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เริ่มเมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์

 

 

ตกลง