แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน (Root rot and Foot rot)
วันที่ 27 กันยายน 2566
เตือนเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ระวังการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกความชื้นในอากาศสูง สภาพแวดล้อมเหมาะต่อการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้น ขอให้เกษตรกรหมั่นสวนอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรปล่อยให้มีน้ำท่วมขังในสวน หากมีน้ำท่วมควรรีบระบายออก เมื่อพบทุเรียนมีอาการใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยวเหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำตายนึ่งคล้ายน้ำร้อนลวก บริเวณลำต้นพบคราบน้ำบนผิวเปลือก รากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล ให้ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง หรือสามารถขอคำแนะน่าในการป้องกันกำจัดได้ที่เจ้าหน้าที่ส่านักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora palmivora
ลักษณะอาการ
อาการที่ราก เริ่มแรกจะเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้น
ใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูราก จะพบรากฝอยแสดงอาการเน่ามีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็น
สีน้ำตาล เมื่อโรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ท่าให้ต้นโทรมและยืนต้นตาย
อาการที่กิ่ง ลำต้นหรือโคนต้น ระยะแรกจะแสดงอาการใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สังเกตเห็นคล้ายคราบน้ำบนผิวเปลือกของกิ่ง หรือต้น ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นอาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงไหลออกมาจากบริเวณแผล และจะค่อย ๆ แห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบนั้นจะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีน้ำตาล ถ้าแผลขยายใหญ่ลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ใบร่วงจนหมดต้น และยืนต้นแห้งตาย
อาการที่ใบ ใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยว เหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำตายนึ่งคล้ายน้ำร้อนลวก เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ เกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่างรวดเร็วแล้วค่อย ๆ ร่วงไป
พบมากช่วงฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน
การแพร่ระบาด
เชื้อราแพร่กระจายโดยลม น้ำ และฝน เนื่องจากเชื้อราสร้างสปอร์ที่สามารถเคลื่อนที่ไปตามน้ำได้และสร้างสปอร์ที่สามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน เมื่อมีสภาวะแวดล้อมเหมาะสมก็สามารถงอกเส้นใยเข้าทำลายพืชได้ สภาวะที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดได้ดีคือช่วงที่มีฝนตกชุก และความชื้นสูง
แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้
1. หมั่นสำรวจแปลงปลูกทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงที่ฝนตกชุก แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี ไม่ท่วมขัง
2. ปรับปรุงดิน โดยใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปรับสภาพดินให้มีค่าความเป็นกรดด่างของดินประมาณ 6.5 กรณีดินที่เป็นกรดจัด ให้ใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ อัตรา 100 - 200 กิโลกรัมต่อไร่
3. การควบคุมปริมาณเชื้อในดิน โดยใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma ที่มีส่วนผสมของเชื้อราTrichoderma + รำข้าว + ปุ๋ยคอก 1:4:10 โดยน้ำหนัก ในอัตรา 50 กรัมต่อตารางเมตร โรยลงดินในพื้นที่รัศมีทรงพุ่ม หรือใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก
4. ควรหลีกเลี่ยงการกระท่าที่ทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลาย
5. ทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมาก หรือยืนต้นตาย ควรขุดออกแล้วนำไปทำลายนอกแปลงปลูกแล้วตากดินไว้ระยะหนึ่งจึงปลูกทดแทน
6. เมื่อพบส่วนของใบ ดอก และผลที่เป็นโรค ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคไปท่าลายนอกแปลงปลูก แล้วพ่น
ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เมทาแลกซิล 25% WP หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30 - 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม
7. ไม่น่าเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ และควรท่าความสะอาดเครื่องมือ
ก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง
8. เมื่อพบต้นที่ใบเริ่มมีสีซีด ไม่เป็นมันเงาหรือใบเหลืองหลุดร่วง ใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40% SLผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยาฉีดเข้าล่าต้น อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อต้น และ/หรือราดดินด้วยฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP หรือ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30 - 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
9. เมื่อพบอาการโรคบนกิ่งหรือที่โคนต้น ถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก แล้วทาแผลด้วยฟอสอีทิลอะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 80 - 100 กรัม หรือ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 50 – 60 กรัมต่อน้ำ
1 ลิตร ทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง หรือใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40% SL ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยา
ใช้อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อต้น ฉีดเข้าล่าต้นหรือกิ่งในบริเวณตรงข้ามอาการโรคหรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค
10. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ตัดแต่งกิ่งเป็นโรค กิ่งแห้ง และตัดขั้วผลที่ค้างอยู่ไปทำลายนอกแปลงปลูกเพื่อลดการสะสมของเชื้อสาเหตุโรค
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์