คาดหมายสภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 6 – 12 มีนาคม 2567
ช่วงวันที่ 6 - 7 มี.ค. 2567 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และ
ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าว
มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน
มีกำลังอ่อน แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
ช่วงวันที่ 8 - 12 มี.ค. 2567 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน
จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ
ภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึง
ฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในระยะแรก
สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และ
ทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศร้อนถึงร้อนจัด ในช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค. 2567
ช่วงวันที่ 8 - 10 มี.ค. 2567 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจาก
ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้ารายภาค
ภาคเหนือ
ช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค. 2567 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
อุณหภูมิต่ำสุด 15 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 41 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 – 15 กม.ชม.
ช่วงในวันที่ 9 – 10 มี.ค. 2567 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมี
ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่งส่วนมากตอนล่างของภาค
ช่วงวันที่ 11 - 12 มี.ค. 2567 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมี
ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ส่วนมากตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม.ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ช่วงวันที่ 6 – 7 มี.ค. 2567 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมี
ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 – 41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว
10 – 15 กม.ชม.
ช่วงในวันที่ 8 - 10 มี.ค. 2567 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมี
ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง
ช่วงวันที่ 11 - 12 มี.ค. 2567 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด
34 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 20 กม.ชม.
ภาคกลาง
ช่วงวันที่ 6 – 7 มี.ค. 2567 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 42 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม.ชม.
ช่วงในวันที่ 8 – 10 มี.ค. 2567 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ กับมี
ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง
ช่วงวันที่ 11 - 12 มี.ค. 2567 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมี
ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30 – 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม.ชม.
ภาคตะวันออก
ช่วงวันที่ 6 – 7 มี.ค. 2567 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม.ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า
1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ช่วงในวันที่ 8 - 10 มี.ค. 2567 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมี
ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง
ช่วงวันที่ 11 - 12 มี.ค. 2567 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด
30 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม.ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค. 2567 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ
10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม.ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ช่วงในวันที่ 9 – 12 มี.ค. 2567 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม.ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 35 กม.ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนที่มีฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 38 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ตลอดช่วง
ช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค. 2567 ตั้งแต่ จ.ภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว
15 – 30 กม.ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม.ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ช่วงในวันที่ 9 – 12 มี.ค. 2567 ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม.ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล
ช่วงวันที่ 6 – 7 มี.ค. 2567 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด
26 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม.ชม.
ช่วงวันที่ 8 - 10 มี.ค. 2567 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมี
ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง
ช่วงวันที่ 11 - 12 มี.ค. 2567 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม.ชม.