ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทรศัพท์/โทรสาร 02-2819401 E-mail : disas.plan@gmail.com
แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด หนอนเจาะผลทุเรียน
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 เตือนภัยเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนทุกภาคประเทศไทย เฝ้าระวังการระบาดหนอนเจาะผลทุเรียนเนื่องจากปัจจุบันทุเรียนอยู่ในช่วงของการพัฒนาผลจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบบริเวณเปลือกของผลทุเรียนมีรอยกัดแทะผิวเปลือก พบมูลหรือรังของหนอนและพบน้ำไหลเยิ้ม
เมื่อทุเรียนใกล้แก่ให้ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรงหรือสามารถขอคำแนะนำได้ที่เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Conogethes punctiferalis Guenee
วงศ์: Crambidae
อันดับ : Lepidoptera
ชื่ออื่น : หนอนเจาะผลละหุ่ง
รูปร่างลักษณะ
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดค่อนข้างเล็ก เมื่อกางปีกกว้างประมาณ 2.3 เซนติเมตร ปีกทั้งคู่
มีสีเหลืองถึงส้ม มีจุดสีดำกระจายอยู่ทั่วปีก วางไข่ไว้บนเปลือกผลทุเรียน หนอนวัยแรกมีสีขาว หัวสีน้ำตาลแทะกินผิวทุเรียนก่อน เมื่อโตขึ้นจึงเจาะกินเข้าไปในเปลือกผลทุเรียน ตัวหนอนวัยต่อมามีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนและมีจุดสีน้ำตาลเข้มประอยู่บริเวณหลังตลอดลำตัวและมีหัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนเจริญเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ 1.5 - 1.8 เซนติเมตร จะเข้าดักแด้อยู่ระหว่างหนามของผลทุเรียนโดยมีใยและมูลของหนอนหุ้มตัว
ลักษณะการทำลาย
หนอนเจาะผลจะเข้าทำลายทุเรียนได้ตั้งแต่ผลยังเล็กอายุประมาณ 2 เดือน ไปจนถึงผลโตเต็มที่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวทำให้ผลเป็นแผล อาจทำให้ผลเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าท าลายซ้ำ การที่ผลมีรอยแมลง
ทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา หากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผลทำให้บริเวณดังกล่าวเน่า เมื่อผลสุกที่บริเวณเปลือกของผลทุเรียนจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจน และจะมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่ ผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันหนอนจะเข้าท าลายมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยว ๆ เพราะผีเสื้อเพศเมียชอบวางไข่ในบริเวณรอยสัมผัสนี้
พืชอาหาร : มะหวด ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ทับทิม ละหุ่ง หม่อน และโกโก้
ศัตรูธรรมชาติ: แตนเบียน Apanteles sp
แนวทางการป้องกันกำจัดดังนี้
1. หมั่นตรวจดูผลทุเรียนเมื่อพบรอยทำลายของหนอน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมา
ทำลาย
2. ผลทุเรียนที่เน่าและร่วงเพราะถูกหนอนทำลายควร เก็บทำลายโดยการเผาไฟหรือฝัง
3. ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป โดยเฉพาะผลที่อยู่ติดกันควรใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าว
คั่นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย
4. การห่อผลด้วยถุงมุ้งไนล่อน ถุงรีเมย์ หรือถุงพลาสติกสีขาวขุ่น เจาะรูที่บริเวณขอบล่างเพื่อให้หยดน้ำระบายออก โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์เป็นต้นไป จะช่วยลดความเสียหายได้
5. ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ แลมบ์ดา - ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นเฉพาะส่วนผลทุเรียนที่พบการท าลายของหนอนเจาะผล
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์