โดรนเพื่อการเกษตร และข้อบังคับที่ควรรู้
16 พ.ค. 2567
26
0
โดรนเพื่อการเกษตร และข้อบังคับที่ควรรู้
โดรนเพื่อการเกษตร และข้อบังคับที่ควรรู้

 

          ความก้าวหน้าของนวัตกรรมเกษตรนั้นกำลังถูกผลักดันอย่างมากในยุคปัจจุบัน โดยมีเทคโนโลยีมากมาย ที่เข้ามาพัฒนาต่อยอดพร้อม ก้าวสู่ยุคของ Smart Farm พร้อมเปิดประสบการณ์ด้านนวัตกรรมการเกษตรยุคใหม่ที่จะมาช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมาก “โดรนเพื่อการเกษตร” มีลักษณะการใช้งานแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือ ใช้สำรวจ และวางแผนการผลิตพืช ไม่ว่าจะการสำรวจพื้นที่ ติดตามการเติบโตของพืช เพื่อนำมาคาดการณ์ผลผลิตหรือวางแผนการจัดการแปลง และประเภทที่สอง คือ ใช้เพื่อทุ่นแรง เช่น การหว่านเมล็ดพืช ปุ๋ย หรือฉีดพ่นสารเคมี โดรนถือเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะพืชที่มีลำต้นสูง การฉีดพ่นด้วยการที่ต้องแบกเครื่องเองเป็นเรื่องยาก ตรงที่จะทำให้ละอองกระจายลงใบพืชได้อย่างทั่วถึง ต่างจากการบังคับโดรนให้ฉีดพ่นกดลงมาด้วยแรงลมที่เหมาะสมและไปในทิศทางที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้พืชผลิตดอกผลได้ดีกว่า เพราะหากมีการฉีดพ่นผิดวิธีจะทำให้ใบพืชบอบช้ำ จึงไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ทันที แต่ต้องรอ ให้เกิดการซ่อมแซมใบก่อนกว่าจะปรุงอาหารได้ เท่ากับกระบวนการผลิตดอกผลต้องล่าช้าไป


          การพ่นปุ๋ยหรือยากำจัดศัตรูพืช มีความสามารถในการพ่นยา หว่านปุ๋ยได้อย่างแม่นยำและตรงจุด พร้อมช่วยให้เหล่าเกษตรกรปลอดภัยจากการสัมผัสสารเคมีโดยตรง ถือว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านจากยุค Farmer Aging Society สู่ยุคของ Smart Farmer ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นแนวทางส่งเสริมให้บรรดาเกษตรกร ใช้ต้นทุนทรัพยากรน้อยที่สุด แต่ได้ผลผลิต ทั้งปริมาณและคุณภาพมากที่สุดนั่นเอง

          ล่าสุดแหล่งเงินทุนใหญ่ของพี่น้องเกษตรกร ได้ออกนโยบายเอาใจเกษตรกรยุคใหม่ ด้วยการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อ โดรนกันแล้ว ส่วนใครกำลังมองว่า “โดรน” นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการทางการเกษตร และจะหามาไว้ใช้ซักตัว ยังไงก็ต้องรู้กฎหมาย ก่อนจะนำมาใช้อย่างถ่องแท้พ แต่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียน โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และโดรนที่ติดตั้งกล้องถ่ายภาพต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี

          ทั้งนี้ การใช้โดรนในประเทศไทยมีข้อบังคับและกฎหมายควบคุมอยู่ จากพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มีข้อบังคับที่เกษตรกรควรรู้ ดังนี้

          – โดรนที่ไม่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพและน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม ไม่ต้องขึ้นทะเบียน โดรนที่ไม่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพ แต่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียน โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และโดรนที่ติดตั้งกล้องถ่ายภาพต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี

          – การบังคับหรือปล่อยโดรนต้องสามารถมองเห็นได้ตลอดเวลาที่ทำการบิน และห้ามทำการบังคับโดยมองจากภาพของกล้องบนโดรน

          – ห้ามบังคับโดรนเข้าใกล้อากาศยานที่มีนักบิน

          – ห้ามทำการบินภายในระยะ 9 กิโลเมตรจากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน นอกจากจะได้รับอนุญาต

          – ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่า 30 เมตร

          – ห้ามทำการบินในบริเวณเขตห้าม รวมทั้งสถานที่ราชการ หน่วยงานรัฐ โรงพยาบาล นอกจากจะได้รับอนุญาต

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดปราจีนบุรี
ตกลง