ระวังการระบาดของโรคใบจุดสีม่วง ที่เกิดจากเชื้อรา
7 พ.ย. 2567
8
0
ระวังการระบาดของโรคใบจุดสีม่วง ที่เกิดจากเชื้อรา
ระวังการระบาดของโรคใบจุดสีม่วง ที่เกิดจากเชื้อรา

เกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมแบ่ง และกระเทียม ระวังการระบาดของโรคใบจุดสีม่วง ที่เกิดจากเชื้อรา ?????????? ?????
อาการเริ่มแรก พบจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก รูปร่างกลมหรือรีบนใบ เมื่อแผลแห้งจะเปลี่ยนเป็นจุดแผลสีขาว และแผลจะขยายออกตามความยาวของใบ มีลักษณะเป็นรูปไข่ เนื้อเยื่อยุบตัว แผลสีม่วงเข้มหรือสีน้ำตาลอมม่วง ตรงกลางซีดจางกว่าเล็กน้อย มีแถบสีขาว หรือสีเหลืองส้มล้อมรอบแผล
ถ้าอากาศชื้นจะพบผงสปอร์สีดำของเชื้อราบนแผล เมื่อมีหลายแผลขยายต่อกันจะทำให้ใบแห้ง ต้นโทรม ผลผลิตลดลง
หากโรคระบาดรุนแรงใบจะแห้งตายหมด ไม่ได้ผลผลิต หากเชื้อราเข้าทำลายที่ส่วนหัว จะทำให้หัวเน่าเก็บไว้ได้ไม่นาน
วิธีป้องกันกำจัด
(1) ก่อนปลูกควรปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสม โดยการใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์
(2) ใช้หัวพันธุ์ที่ปราศจากโรค โดยแช่หัวพันธุ์ หรือต้นกล้าก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น
ไดฟีโนโคนาโซล 25% EC อัตรา 30 - 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
ไอโพรไดโอน 50% WP อัตรา 30 - 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
นาน 15 - 20 นาที
(3) ตรวจแปลงปลูกสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น
ไดฟีโนโคนาโซล 25% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
ไอโพรไดโอน 50% WP อัตรา 20 - 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
โพรคลอราซ 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

หากโรคยังคงระบาดควรพ่นซ้ำ ทุก 5 - 7 วัน แต่ไม่ควรเกิน 4 ครั้ง แล้วสลับพ่นด้วย
แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 40 - 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อสาเหตุโรค

(4) เก็บซากพืชที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค
(5) ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่สกุลหอมกระเทียมสลับ

ตกลง