โรคราสนิมในอ้อย
12 ธ.ค. 2567
10
0
โรคราสนิมในอ้อย
โรคราสนิมในอ้อย

สาเหตุ : เชื้อรา Puccinia melanocephala

เชื้อราสาเหตุโรคสามารถพักตัวในเศษซากพืช เกิดโรคข้ามฤดู และสามารถแพร่กระจายผ่านลมและน้ำ

อาการ : ใบอ่อนพบจุดแผลขนาดเล็กสีแดง เมื่อใบแก่จุดแผลจะขยายออกเป็นสีน้ำตาลแดง (สีสนิม) มีวงสีเหลืองล้อมรอบ ใต้ใบมีแผลนูน เมื่อแผลแตกออก มีลักษณะขรุขระ พบผงสปอร์สีน้ำตาลแดง (สีสนิม)

การป้องกัน
1. สำรวจแปลงอ้อยช่วงฤดูหนาว หรือสภาพที่มีความชื้นสูง จำนวน 10 จุดต่อไร่ (จุดละ 1 ต้น/กอ) ทั่วแปลง อ้อยอายุ 3-6 เดือน เป็นระยะที่อ่อนแอต่อโรคราสนิม

2. ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อโรค เช่น พันธุ์อู่ทอง 2 พันธุ์อู่ทอง 4 และพันธุ์ K90-77

3. กำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูก และกำจัดส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลง

4. ปรับดินไม่ให้เป็นกรด ใหมีค่า pH ตั้งแต่ 5.5-7.0 โดยเติมปูนขาวหรือไดโลไมท์

5. งดใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง อาจจะทำให้อาการโรคราสนิมมากขึ้น

6. ใช้สารเคมีป้องกันก่อนเกิดโรคให้ใช้คลอโรธาโรนิล 75% WP อัตรา 10-20 กรัม, แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 40 กรัม ส่วนการควบคุมโรคระยะไม่รุนแรงให้ใช้ไพราโคลสโตรบิน+อีพอกซีโคนาโซล 13.3+5% SE อัตรา 10-20 มล.

ตกลง