กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น กำหนดให้สินค้าเกษตรที่นำเข้าจากประเทศไทยบางรายการ เป็นสินค้าสั่งตรวจ (Order Inspection) ซึ่งผู้ประกอบการนำเข้าจะต้องประสานห้องปฏิบัติการที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น นำตัวอย่างไปตรวจสอบหาสารเคมีตกค้างชนิดที่กำหนด เมื่อได้ผลการตรวจยืนยันว่าไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด จึงจะอนุญาตปล่อยสินค้าได้
ปัจจุบัน (ณ 18 สิงหาคม 2563) สินค้าที่เกษตรที่นำเข้าจากประเทศไทยที่ถูกสั่งตรวจ Order Inspection ได้แก่
1. ทุเรียน (โพรไซมิโดน)
2. กล้วย (ไซเพอร์เมทริน)
3. มะม่วง (คลอร์ไพริฟอส โพรพิโคนาโซล และไซเพอร์เมทริน)
4. มังคุด (อิมาซาลิล)
5. ผักชีฝรั่ง (คลอร์ไพริฟอส)
6. เห็ดกระด้าง (คลอร์ไพริฟอส)
7. กระเจี๊ยบเขียว (EPN)
8. หน่อไม้ฝรั่ง (EPN)
สำหรับ กล้วย (ไซเพอร์เมทริน) มะม่วง (คลอร์ไพริฟอส และโพรพิโคนาโซล) มังคุด (อิมาซาลิล) ผักชีฝรั่ง (คลอร์ไพริฟอส) และหน่อไม้ฝรั่ง (EPN) หากเป็นผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจัดการสารเคมีตกค้างในผักผลไม้เพื่อส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น (Control Measure) ของกรมวิชาการเกษตร จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจ Order Inspection อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ มะม่วง (ไซเพอร์เมทริน) กำหนดให้ตรวจในผู้นำเข้าทุกราย
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับอาหารนำเข้า Click
หมายเหตุ
1. รายชื่อห้องปฏิบัติการในจังหวัดอื่นๆ สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น (https://www.mhlw.go.jp/stf/seisakunitsuite/bunya/kenkou_iryou/shokuhin/jigyousya/kikan/index.html)
2. รายการสินค้าเกษตรนำเข้าจากประเทศไทยและรายการสารเคมีที่ถูกกำหนดให้ตรวจ Order Inspection อาจมีการปรับปรุง
3. ผู้นำเข้าจะต้องยื่นเอกสารขอนำเข้ากับด่านสาธารณสุข จากนั้นจะได้รับเอกสารสั่งให้ตรวจ Order Inspection (検査命令書) เพื่อนำไปติดต่อห้องปฏิบัติการที่จะใช้บริการซึ่งจะส่งเจ้าหน้าที่มาเก็บตัวอย่าง ณ โกดังเก็บของ ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการจะแจ้งผลการตรวจให้ด่านสาธารณสุขทราบโดยตรง
4. อาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าเก็บตัวอย่าง ฯลฯ ผู้นำเข้าสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้กับห้องปฏิบัติการที่ให้บริการโดยตรง
5. ข้อมูลที่แสดงในตารางเป็นข้อมูลตรวจสอบล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 อาจมีการเปลี่ยนแปลง