ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2567
มีการหดตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับปี 2566 โดยมีสาขาพืช สาขาบริการทางการเกษตร สาขาปศุสัตว์ และสาขาประมง หดตัวร้อยละ 4.5 0.4 0.7 และ 1.7 ตามลำดับ
โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้ภาคเกษตรหดตัว ได้แก่ ปริมาณผลผลิตข้าว และกล้วยไม้ลดลง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งชุมชนและ ที่อยู่อาศัย ทำให้เกษตรกรบางรายลดปริมาณการเลี้ยงหรือย้ายพื้นที่เลี้ยงไปจังหวัดอื่น ประกอบกับภาวะต้นทุนค่าอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ทำให้เกษตรกรชะลอการเลี้ยง และลดปริมาณการปล่อย ลูกพันธุ์ปลา ทำให้ผลผลิตลดลง ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและรายได้เกษตรกรลดลง
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2568
คาดว่าจะมีการขยายตัว อยู่ในช่วงร้อยละ 1.2 - 2.2 โดยสาขาพืช คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 – 2.0 สาขาปศุสัตว์ คาดว่าจะหดตัวอยู่ในช่วงร้อยละ (-1.3) – (-0.3) สาขาประมง คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 0.3 - 1.3 สาขาบริการ ทางการเกษตร คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.4 – 2.4
สำหรับปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้ภาคเกษตรขยายตัว ได้แก่ การดำเนินนโยบาย ด้านการเกษตรที่ต่อเนื่อง เช่น ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านการเกษตร การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การวางแผนการผลิตอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ส่งเสริมการรวมกลุ่มและการแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น ความแปรปรวนของสภาพอากาศ ภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งการระบาดของโรคพืชและสัตว์ที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ ล้วนเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตรในทิศทาง ที่ดีขึ้นหรือหดตัวลง จึงจำเป็นต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์ต่อไป