คาดหมายสภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่13 – 19 พฤศจิกายน 2566
ช่วงวันที่ 13 – 15 พ.ย. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลาง
จากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ
อุณหภูมิลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส สำหรับลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับ
มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณ
อ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามัน
มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ช่วงวันที่ 16 – 19 พ.ย. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่ง
จากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 5 - 7 องศาเซลเซียส
ภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลง 4 – 6 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก
อุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้
และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลัง
ค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง
ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
ข้อควรระวัง ช่วงวันที่ 16 – 19 พ.ย. 2566 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน
ดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น และลมแรง สำหรับเกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิด
ต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก
และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน
และพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยง
การเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่
17 - 19 พ.ย. 2566 นี้ไว้ด้วย