คาดหมายสภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2566
29 พ.ย. 2566
40
28

คาดหมายสภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2566
ช่วงวันที่ 29 – 30 พ.ย. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลาง
ที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับยังคงมี
อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนืออุณหภูมิสูงขึ้น 2 – 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิสูงขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียส ในขณะที่มีลมฝ่ายตะวันออกพัดปกคลุม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
ช่วงวันที่ 1 – 5 ธ.ค. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่ง
จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ยังคงมีลม
ฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทย
ตอนบนมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับมีลมแรง
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง ทำให้
ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง
1– 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามัน
มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 1 – 5 ธ.ค.2566 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง
มีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกของประเทศอินเดีย
ช่วงวันที่ 4 – 5 ธ.ค. 2566 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออก
เดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. 2566 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน
ดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก
สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเล
อันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง

ตกลง