รายการวิทยุ “รายการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร” โดย สำนักงานประมงจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอำนาจเจริญ และ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ (22/4/65)
22 เม.ย. 2565
190
0
รายการวิทยุ“รายการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร”
รายการวิทยุ “รายการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร” โดย สำนักงานประมงจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอำนาจเจริญ และ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ (22/4/65)

          วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2565  เวลา 08.10 - 09.00 น. ที่ห้องผู้ประกาศ สวท.อำนาจเจริญ นางสาวอุไร พันเอ็ด เจ้าพนักงานประมง ปฏิบัติงาน กลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง สำนักงานประมงจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ นางสาวกิ่งเทียน เรือนตนนอก นักวิชาการประมง ปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอำนาจเจริญ และ นางสาวปิยะพร สุริโยตระกูล หัวหน้ากลุ่มสารสนเทศการเกษตร และนายธนกฤต เนื้ออ่อน  จ.วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ ดำเนินรายการ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร” นำเสนอข่าวสารผ่านทางวิทยุ ดังต่อไปนี้

 

          1. ประมง แนะวิธีเลี้ยงสัตว์น้ำ เฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำ โดยวางแผนการเลี้ยงสัตว์ให้เหมาะสม, คัดเลือกลูกพันธุ์สัตว์น้ำ, ควรปล่อยสัตว์น้ำในอัตราที่หนาแน่นที่เหมาะสม, เลือกใช้อาหารที่มีคุณภาพดีและให้ในปริมาณที่เหมาะสม, หมั่นตรวจสุขภาพสัตว์น้ำสม่ำเสมอ “ระวังโรคปลาที่เกิดจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส” ฝากให้ติดตามข่าวสารพยากรณ์อากาศจากทางราชการ หากมีปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสามารถขอคำปรึกษาได้ที่สำนักงานประมงจังหวัดอำนาจเจริญ/สำนักงานประมงอำเภอใกล้บ้านท่าน

 

          2. ประมง แจ้งเตือนผู้ฝ่าฝืนพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. 2558

        “การใช้กระแสไฟฟ้าช็อตปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ” ทำให้สัตว์น้ำและปริมาณสัตว์น้ำลดลง และบางชนิดอาจสูญพันธุ์ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และเครื่องมือดังกล่าวผิดกฎหมายประมง มาตรา 60 ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 2 แสน ถึง 1 ล้านบาท และห้ามมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าสัตว์น้ำที่ผิดกฎหมาย โทษปรับ 1 หมื่นบาท หรือปรับจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่มีไว้ในครอบครอง

        ห้ามผู้ใดกระทำการ ปล่อย เท ทิ้ง ระบายหรือทำให้วัตถุอันตรายตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดลงสู่ที่จับสัตว์น้ำ, กระทำการใดๆ อันทำให้สัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำมึนเมา, ปล่อย เท ทิ้ง ระบายหรือทำให้สิ่งใดลงสู่ที่จับสัตว์น้ำมนลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำ และทำให้ที่จับสัตว์น้ำเกิดมลพิษในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำ การกระทำดังกล่าวผิดกฎหมายประมง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 3 แสน ถึง 5 แสนบาท รวมถึงมาตรา 61 ห้ามมีไว้ครอบครอง  เพื่อการค้าสัตว์น้ำที่ผิดกฎหมาย โทษปรับ 1 หมื่นบาท หรือปรับจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่มีไว้ในครอบครอง และขอความร่วมมือแจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่ กรณีพบผู้กระทำผิดดังกล่าว โดยแจ้งที่ สำนักงานประมงจังหวัดอำนาจเจริญ 045-452027 สำนักงานประมงอำเภอ หรือ หน่วยบริหารจัดการประมงน้ำจืดเขื่อนปากมูล อุบลราชธานี โทร 045-442012

 

       3. แจ้งความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ส่งเสริมอาชีพประมง กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ประจำปี 2565 และ  กิจกรรมจับปลา ณ แหล่งน้ำทำนบปลาห้วยนาน้อย ตำบลพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ 20 มีนาคม 2565 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอำนาจเจริญ และคณะกรรมการฯ ร่วมประเมินผล จับสัตว์น้ำและมูลค่าสัตว์น้ำจืดที่จับใช้ประโยชน์ และเก็บข้อมูลผลการจับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชน โดยบันทึกชนิด จำนวน ปริมาณ ชั่งวัดขนาดและน้ำหนัก ซึ่งจับด้วยวิธีการขายบัตรจับปลา ภายใต้การบริหารจัดการ ของคณะกรรมการแหล่งน้ำฯ โดยมีชาวประมงเข้าร่วม

 

        4. ศพจ.อำนาจเจริญ แจ้งราคาพันธุ์สัตว์น้ำจืดพร้อมจำหน่ายประจำสัปดาห์ เมษายน 2565

จำหน่าย

พันธุ์ปลาตะเพียนขาว       ขนาด 2-3 ซ.ม. ราคา 20 สตางค์

                                ขนาด 3-5 ซ.ม. ราคา 25 สตางค์

                                ขนาด 5-7 ซ.ม. ราคา 35 สตางค์

พันธุ์ปลานิลแปลงเพศ       ขนาด 2-3 ซ.ม. ราคา 30 สตางค์

                                ขนาด 3-5 ซ.ม. ราคา 50 สตางค์

                                 ขนาด 3-5 ซ.ม. ราคา 50 สตางค์

ปลานิลธรรมดา              ขนาด 2-3 ซ.ม. ราคา 15 สตางค์

                                 ขนาด 3-5 ซ.ม. ราคา 20 สตางค์

                                 ขนาด 5-7 ซ.ม  ราคา 30 สตางค์

 

          5. ประมง แนะวิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างไรให้ถูกต้อง

          ปลาดุกแอฟริกันซื้อปลาดุกรัสเซีย.../กุ้งเครฟิช .../เต่าญี่ปุ่นหรือเต่าแก้มแดง.../ปลาหางนกยูง.../ปลาดำปลากดเกราะลาย(ชัคเกอร์ ดุดฝุ่น ปลาเทศบาล).../ตะพาบไต้หวัน  .../ปลาทับทิม .../ปลานิล  .../ปลาหมอสีคางดำ สัตว์น้ำเหล่านี้ถือเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นเอเลี่ยนสปีชีส์  ก่อให้เกิดปัญหาระบบนิเวศ... /เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพสัตว์น้ำพื้นเมืองของไทยมีจำนวนลดน้อยลงถึงขั้นสูญหายเนื่องจากถูกคุกคามจากสัตว์น้ำต่างถิ่น            

          .../ส่งผลกระทบกับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกรในกรณีที่สัตว์น้ำต่างถิ่นหลุดรอดเข้าไปในบ่อ

          .../ปลาต่างถิ่นบางชนิดที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจเหมาะสำหรับการเพาะเลี้ยงในบ่อเพาะเลี้ยงแบบปิดเท่านั้นไม่เหมาะกับการปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่นปลานิล ปลาทับทิม กุ้งเครฟิชย์ (ก้ามแดง)ปลาหางนกยูงเป็นต้น

          ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำสายพันธุ์พื้นเมืองของไทย ปลาตะเพียนขาว.../ปลาตะเพียนทอง.../ปลาแก้มช้ำ.../ปลาสร้อยขาว.../ปลาหมอไทยปลา.../ยี่สกไทย.../ปลากราย.../ปลากะพง.../ปลาบึก

          เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์สัตว์น้ำ.../อนุรักษ์สัตว์น้ำสายพันธุ์ไทย.../สร้างแหล่งอาหารโปรตีน.../รักษาสภาพระบบนิเวศและความหลากหลายของชีวภาพให้

สมบูรณ์

 

          6. สถานการณ์การรุกรานของกุ้งก้ามแดง ในอ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน จังหวัดอำนาจเจริญ และ ประชาสัมพันธ์กฎหมายหรือระเบียบเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยง

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง