หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายปรีชา พันธุ์วา) และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง) ลงพื้นที่ตรวจราชการร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ( ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า) ณ จังหวัดน่าน
20 พ.ค. 2567
93
0
หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายปรีชา พันธุ์วา) และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง) ลงพื้นที่ตรวจราชการร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ( ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า) ณ จังหวัดน่าน
หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายปรีชา พันธุ์วา) และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง) ลงพื้นที่ตรวจราชการร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ( ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า) ณ จังหวัดน่าน

หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายปรีชา พันธุ์วา) และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง) ลงพื้นที่ตรวจราชการร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ( ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า) ณ จังหวัดน่าน

 

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม 2567 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายปรีชา พันธุ์วา) และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง) ลงพื้นที่ตรวจราชการร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปดังนี้
จุดที่ 1 ณ ประตูระบายน้ำสมุน บ้านตาแก้ว ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
ประตูระบายน้ำสมุน งบประมาณ 330 ล้านบาท ปี 2567 ได้งบประมาณเวนคืน 30 ล้านบาท จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างตุลาคม 2567 ทั้งนี้ ขอให้กรมชลประทานเร่งรัดดำเนินการตามแผน

จุดที่ 2 หอประชุมโรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน สรุปข้อสั่งการ ได้นี้
1) อำเภอท่าวังผานำเสนอโครงการที่สะท้อนปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรด้านการสร้างปรับปรุงซ่อมแซมระบบน้ำทั้งระบบ จำนวน 17 โครงการ ขอมอบหมายให้กรมชลประทานลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ร่วมกับผู้นำท้องที่ท้องถิ่นโดยเร่งด่วน ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกโครงการที่มีความพร้อม และตรวจสอบว่าเป็นโครงการที่ กรมชลประทานได้บรรจุไว้ในแผนการพัฒนาและดำเนินการอยู่หรือไม่ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ รมช.ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการภาคเกษตรของจังหวัดน่านทั้งระบบโดยกำหนดให้เป็น “Nan Model” เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรให้กับจังหวัดน่าน
2) ต้องการให้ผลักดันโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกอน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
ซึ่งปัจจุบันดำเนินการศึกษาเรื่องของสภาพแวดล้อม IEE เสร็จสิ้นแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ คาดว่าในปีงบประมาณ ปี 2569 จะสามารถอนุมัติงบประมาณได้ทั้งนี้ขอให้กรมชลประทานเร่งรัดดำเนินการตามแผน
3) ต้องการระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำ ดินเสื่อมโทรม และทางลำเลียงในไร่นา ในเขตลุ่มน้ำย่าง ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เข้าแผนของกรมพัฒนาที่ดินในปี 2568 และทางกรมพัฒนาที่ดินได้เข้าสำรวจออกแบบพื้นที่ลุ่มน้ำย่างไว้เรียบร้อยแล้ว
4) ต้องการให้แก้ไขปัญหาแหล่งน้ำนอกเขตชลประทาน โดยใช้ “ซอยซีเมนต์” ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของการจัดทำ “ซอยซีเมนต์” ให้กับชุมชนเพื่อสามารถแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำนอกพื้นที่ชลประทานได้
5) ส่งเสริมการสร้างอาชีพและการปลูกพืชมูลค่าสูง ขอให้กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมการสร้างอาชีพและการปลูกพืชมูลค่าสูง เช่น กาแฟ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม 3 เท่า ภายใน 4 ปี
6) เรียกร้องเอกสารสิทธิ์ที่ดิน บ้านท่าวังผา หมู่ 6 ตำบลท่าวังผา จังหวัดน่าน ขอมอบหมายกรมพัฒนาที่ดินตรวจสอบข้อมูลของเกษตรกรในพื้นที่

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง