ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรและสหกรณ์ในระดับพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และบรรยายในหัวข้อ "ก้าวไกลไปกับเกษตรสู่โลกแห่งอนาคต"
18 ก.ย. 2567
58
0
ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรและสหกรณ์ในระดับพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และบรรยายในหัวข้อ "ก้าวไกลไปกับเกษตรสู่โลกแห่งอนาคต"
ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรและสหกรณ์ในระดับพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และบรรยายในหัวข้อ "ก้าวไกลไปกับเกษตรสู่โลกแห่งอนาคต"

ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรและสหกรณ์ในระดับพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และบรรยายในหัวข้อ "ก้าวไกลไปกับเกษตรสู่โลกแห่งอนาคต"

วันที่ 18 กันยายน 2567 นางสาวอิงอร ปัญญากิจ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 8 และ 9 ได้เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรและสหกรณ์ในระดับพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568" ณ ห้องประชุมรอยัลอินน์ โรงแรมซันธารา เวลเนส รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมทั้งบรรยายให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทราได้รับฟังในหัวข้อ "ก้าวไกลไปกับเกษตร สู่โลกแห่งอนาคต" โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. 6 เทคโนโลนี เปลี่ยนอนาคตการเกษตร ได้แก่ 1) ด้านดิจิทัล เช่น AI 2) ด้านเครื่องจักรกล เช่น โดรนเพื่อการเกษตร 3) ด้านชีวภาพ เช่น Genome Editing 4) ด้านการจัดการ เช่น การจัดการน้ำและดิน 5) ด้านจัดเก็บและขนส่ง เช่น การนำนวัตกรรมมาใช้ยืดอายุการผลิต และ 6) ด้านบริการ เช่น การเข้าถึงที่รวดเร็วผ่านช่องทางออนไลน์
2. นโยบายรัฐบาล ตามคำแถลงนโยบายเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 มีทั้งสิ้นจำนวน 10 นโยบาย โดยที่เกี่ยวข้องกับด้านเกษตร ได้แก่ นโยบายที่ 6 โดย รัฐบาลจะยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเก ษตรทันสมัย โดยใช้แนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” นำเทคโนโลยีด้านการเกษตร (Agi-Tech) เช่น เกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture) และเทคโนโลยีด้านอาหาร (Food Tech) มาใช้พัฒนาอาชีพด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงการคว้าโอกาสในตลาดใหม่ ๆ รวมทั้งอาหารฮาลาล และฟื้นนโยบาย"ครัวไทยสู่ครัวโลก" ซึ่งเป็นจุดเด่นของประเทศไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของโลกด้านความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และเร่งเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและราคาพืชผลการเกษตร รวมทั้งเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกร

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นสำคัญเพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องในระยะ กลางและระยะยาว รัฐบาลจะต่อยอดการพัฒนาของภาคการผลิตและการบริการ โดยรัฐบาลจะมุ่งเน้น 1) ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy or Eco-Friendly) 2) การพัฒนาเศรษฐกิจสุขภาพ (Care and Wellness Economy) และบริการทางการแพทย์ (Medical Hub) 3) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ 4) ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และรับมือภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหา PM2.5 5) ยกระดับการบริหารจัดการน้ำ จัดหาน้ำสะอาด รวมถึงแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง 6) สานต่อนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) 7) ปฏิรูประบบราชการและกองทัพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ 8) ยกระดับการบริการภาครัฐ ลดกฎหมายและขั้นตอนที่ไม่จำเป็น
3. ข้อเตือนใจและเทคนิคต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกัน 12 ประการ โดยขอให้ยึดมั่น และทำให้ถูกต้อง ตามระเบียบและข้อกฎหมายกำหนด

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง