นางสาวอิงอร ปัญญากิจ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมโครงการสัมมนา เรื่อง “ทิศทางอนาคตทุเรียนไทยทำอย่างไรให้ยั่งยืน” ณ ห้องประชุมวัดหนองบัว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
28 ก.ย. 2567
26
0
นางสาวอิงอร ปัญญากิจ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมโครงการสัมมนา เรื่อง “ทิศทางอนาคตทุเรียนไทยทำอย่างไรให้ยั่งยืน” ณ ห้องประชุมวัดหนองบัว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
นางสาวอิงอรปัญญากิจผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นางสาวอิงอร ปัญญากิจ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมโครงการสัมมนา เรื่อง “ทิศทางอนาคตทุเรียนไทยทำอย่างไรให้ยั่งยืน” ณ ห้องประชุมวัดหนองบัว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด

นางสาวอิงอร ปัญญากิจ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมโครงการสัมมนา เรื่อง “ทิศทางอนาคตทุเรียนไทยทำอย่างไรให้ยั่งยืน” ณ ห้องประชุมวัดหนองบัว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 เวลา 09.30 น. ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต 8 และ 9 (นางสาวอิงอร ปัญญากิจ) ได้เข้าร่วมโครงการสัมมนา เรื่อง “ทิศทางอนาคตทุเรียนไทยทำอย่างไรให้ยั่งยืน” ณ ห้องประชุมวัดหนองบัว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด โดยคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออก และบูรณาการองค์ความรู้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อกำหนดทิศทางอนาคตทุเรียนไทย โดยมีนายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิด นายศักดินัย นุ่มหนู ประธานคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้กล่าวรายงาน และนายณัฐพงษ์ สงวนจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นผู้กล่าวต้อนรับคณะ

โดยการสัมมนาครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญในการรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนของทุกปี ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดมาตรการที่ชัดเจนในการพัฒนาทุเรียนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์จะนำข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้ไปใช้ในการกำหนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาผลไม้ทุเรียนตามกลไกของฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป โดยนอกเหนือจากเรื่องทิศทางทุเรียนไทยแล้ว ในการสัมมนายังได้เปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้ทำการประมงได้หารือ สอบถาม และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางอนาคตของเกษตรกรผู้ทำการประมงอีกด้วย

จังหวัดตราด เป็นจังหวัดชายแดนสุดฝั่งทะเลตะวันออก มีรูปร่างลักษณะคล้ายหัวช้าง มีอาณาเขตพื้นที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,761,875 ไร่ แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 38 ตำบล 261 หมู่บ้าน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลเมือง 13 เทศบาลตำบล และ 29 องค์การบริหารส่วนตัวบล โดยมีพื้นที่เกษตกรรม 628,846 ไร่ โดยคิดเป็นร้อยละ 35.69 ของพื้นที่ทั้งหมด ทั้งนี้ มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 109,160 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 48,086 ไร่ ผลผลิตรวม 82,094 ตัน เฉลี่ยผลผลิต 1,707 กก.-ไร่ นอกจากนี้ ยังมีทุเรียนอัตลักษณ์ หรือทุเรียน GI 2 ชนิด ได้แก่ ทุเรียนชะนี้เกาะช้าง และทุเรียนหมอนทองเข้าบรรทัด

นอกจากนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นการสัมมนา ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และผู้บริหารจังหวัดตราดยังได้ร่วมกันมอบโฉนดเพื่อการเกษตร (ส.ป.ก.) ให้แก่เกษตรกร จำนวน 50 ราย รวมถึงมอบปัจจัยการผลิตปรับปรุงบำรุงดิน (กรมพัฒนาที่ดิน) มอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัว และมอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอีกด้วย

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง