นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 10/2567 ผ่านระบบการประชุมทางไกลโปรแกรม Zoom Meeting
18 ต.ค. 2567
12
0
นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 10/2567 ผ่านระบบการประชุมทางไกลโปรแกรม Zoom Meeting
นายวุฒิพงศ์เนียมหอมผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 10/2567 ผ่านระบบการประชุมทางไกลโปรแกรม Zoom Meeting

นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 10/2567 ผ่านระบบการประชุมทางไกลโปรแกรม Zoom Meeting

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2567 เวลา 13.30 น. นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร จังหวัด เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ติดตามฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 10/2567 ผ่านระบบการประชุมทางไกลโปรแกรม Zoom Meeting โดยมีรักษาการแทนเกษตรและสหกรณ์จังหวัดในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์ พร้อมด้วยคณะกรรมการ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ เข้าร่วมประชุม โดยมีสาระสำคัญของการประชุม ดังนี้
1) รับทราบลักษณะภัยพิบัติในช่วงนี้ มี น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ดินถล่ม และคลื่นลมแรง โดยระหว่างวันที่ 19 - 23 ตุลาคม 2567 จะมีฝนตกหนักในพื้นที่ จึงขอให้ทุกหน่วยงานแจ้งเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำและดินโคลนถล่มอย่างใกล้ชิด
2) สถานการณ์น้ำปัจจุบันและคาดการณ์สถานการณ์น้ำ ซึ่งปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ จำนวน 4 แห่ง ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความจุรวม 212.20 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันเก็บกักน้ำ รวม 92.22 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 43.46 ความจุทั้งหมด
3) การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร ปี 2567 ถึงมือเกษตรกรครบถ้วนแล้ว
เกษตรกร 7,931 ราย พื้นที่ 28,157 ไร่ วงเงิน 159,821,363 บาท
4) เน้นย้ำ ข้อสั่งการของ รมว.กษ. ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ดังนี้
- การสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติ ให้เกษตรกรรับรู้ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ผ่านทุกช่องทาง (Facebook / กลุ่ม Line ผู้นำท้องที่-ท้องถิ่น เครือข่ายทั้งหมด)
- การลดระยะเวลา/ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือฯ ซึ่งคณะกรรมการศูนย์ติดตาม กษ. พิจารณาเห็นชอบเบื้องต้น จากเดิมไม่เกิน 90 วัน เหลือไม่เกิน 65 วัน
5) กานรายงานข้อมูลสถานการณ์อุทกภัยผ่านระบบบริหารจัดการภัยพิบัติด้านการเกษตร ที่คณะผู้ตรวจราชการ กษ. สร้างขึ้น เพื่อให้มีข้อมูลสถานการณ์ประกอบการสั่งการของผู้บริหารระดับสูง โดยตัดยอดข้อมูลก่อนเวลา 08.00 น. ทุกวัน

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง